สายแลน

สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)
สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมาก ขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก

ข้อดีของสาย STP
- ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
- ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
ข้อเสียของสาย STP
- มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
- ราคาแพงกว่าสาย UTP
 สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย

ข้อดีของสาย UTP
- ราคาถูก
- ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
- มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสียของสาย UTP
- ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย (มีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร)
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณอีกประเภทหนึ่งซึ่งจะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติกชั้นหนึ่ง แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวนพลาสติก สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 350 Mbps ระยะการส่งสัญญาณสูงสุด 2-3 ไมล์
 
ข้อดี
- ราคาถูก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
- ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา 
ข้อเสีย
- ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
- ระยะทางจำกัด
 
  

Fiber Optic คืออะไร
       Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสงคือสายนำสัญญาณข้อมูลในระบบเครือข่ายที่สามารถรับส่งข้อมูล ได้ไกลหลายๆกิโลเมตร
และมีการ สูญเสียของสัญญาณน้อยมาก  รองรับการส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากมายมหาศาลได้  Fiber  Optic  ถูกใช้แพร่หลาย
ใน โครงข่ายการส่งข้อมูลความเร็วสูง เช่น ระบบเอสดีเอช (SDH)  หรือระบบโซเน็ท (SONET), ระบบเส้นใยนำแสงสู่บ้าน
(Fiber To The Home: FTTH) เป็นต้น

        
     การสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง เป็นระบบการสื่อสารที่ใช้แสงผสมกับข้อมูลที่ต้องการส่งในรูปแอนาลอกหรือแบบ ดิจิตอล
แล้วจึงส่งผ่านตัวกลาง คือใยแก้วเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กมากมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กมากทำให้สายเคเบิล
1 เส้นสามารถรวมเอาสายสัญญาณหลายเส้นเข้าด้วยกัน แสงจะถูกส่งผ่านไปยังตัวรับคือโฟโตดีเทคเตอร์เพื่อแปลผลค่าสัญญาณ
จากแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แปรผลเป็นข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสงมีจุดเด่นคือสามารถ
ส่งสัญญาณหลายๆช่องไปได้พร้อมๆกัน โดยใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ (Multiplexing) ที่นิยมใช้คือการทำ WDM (Wavelength Divison Multiplexing) เป็นการส่งสัญญาณแต่ละช่องด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากมหาศาล เมื่อเทียบกับ
การสื่อสารผ่านสายทองแดงแบบเดิม ให้พิจารณาเป็นเบื้องต้นดังนี้

      1. ใช้ส่งข้อมูลข้ามทวีป  ผ่านเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ เนื่องจากมีการสูญเสียสัญญาณต่ำกว่าสัญญาณสัญญาณไฟฟ้า ทำให้ใช้ตัวทวนสัญญาณ
น้อย ส่งสัญญาณได้ระยะทางไกล ความคุ้มค่าสูง

      2. ส่งข้อมูลได้มหาศาลในเวลาเดียวกันเมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านสายทองแดง เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารแสงมีความผิดเพี้ยนของสัญญาณต่ำเมื่อทำการรวม กันของข้อมูลหลายๆช่องสัญญาณ
      3. ไม่มีผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถติดตั้งได้ในบริเวณที่มีไฟฟ้าแรงสูง หรือฟ้าผ่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
      4. ข้อมูลรั่วไหลได้ยาก การลักลอบขโมยสัญญาณจากระบบใยนำแสงทำได้ยาก

การนำไปใช้งานของ Fiber Optic
-  ตึกสูงๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ทำเป็น Backbone (สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก)
-  ระบบการรับส่งสัญญาณภาพ วีดีโอ ตามพื้นที่ต่างๆ
-  การใช้งานกับกล้องวงจรปิด
-  และอื่นๆ อีกมากมาย
 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น